วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

1.1 การทำงานของระบบย่อยอาหาร

มนุษย์เป็นผู้บริโภคโดยการรับประทานอาหารเพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต ดำรงอยู่ไต้และ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ มนุษย์จึงมีระบบการย่อยอาหารเพื่อนำสารอาหารแร,ธาตุและน้ำให้เป็นพลังงาน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิต
การย่อยอาหารเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงสารอาหารที่มีขนาดใหญ่ให้เล็กลงจนร่างกายดูดซึม ไปใช้ไต้ การย่อยอาหารมี 3 ขั้นตอน คือ
1) การย่อยอาหารในปาก เป็นกระบวนการย่อยอาหารในส่วนแรก อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการย่อย อาหาร ได้แก่ ปนและต่อมน้ำลาย ทางเดินอาหารเริ่มตั้งแต่ปาก มีปนทำหน้าที่บดอาหาร ต่อมน้ำลาย จะหลั่งน้ำลายมาเพื่อย่อยแป้ง ในน้ำลายมีเมือกช่วยในการหล่อลื่นอาหารให้กลืนไต้สะดวก การหลั่งน้ำลาย อาศัยรสและกลิ่นอาหาร เมื่ออาหารถูกบดเคี้ยวในปากแล้ว จะเข้าสู่หลอดอาหารโดยการกลืน
2) การย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะที่อยู่ต่อจากหลอดอาหาร ใต้กระบังลมต้านซ้าย ต้านล่างติดกับลำไล้เล็ก มีลักษณะเป็นกระพุ้งรูปตัวเจ (J) ผนังกั้นเป็นกล้ามเนื้อเรียบ ยืดหดไต้ดี การย่อย ในกระเพาะอาหาร ผนังกระเพาะอาหารมีกล้ามเนื้อแข็งแรง ยืดหยุ่นและขยายความจุไต้ถึง 1,000 - 1,200 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีกล้ามเนื้อหูรูด 2 แห่ง คือ กล้ามเนื้อหูรูดที่ต่อกับหลอดอาหารและกล้ามเนื้อหูรูดที่ ต่อกับลำไล้เล็ก ผนังต้านในของกระเพาะอาหารมีต่อมสร้างเอนไซม์สำหรับย่อยอาหาร เมื่ออาหารเคลื่อน ลงสู่กระเพาะอาหารจะกระตุ้นให้มีการหลั่งเอนไซม์ออกมา ซึ่งประกอบด้วย กรดไฮโดรคอลิก (HCL) ช่วยเปลี่ยนเพปซิโนเจนและไทรเรนนิน จากผนังกระเพาะให้เป็นเพปซินและเรนนิน พร้อมที่จะทำงาน ช่วยย่อยโปรตีน นอกจากนี้ยังสร้างน้ำเมือกมีฤทธิ์เป็นต่าง (base) เคลือบกระเพาะอาหาร กรดในกระเพาะ อาหารจะทำลายแบคทีเรียที่ติดมากับอาหารอาหารจะอยู่ในกระเพาะอาหารประมาณ30นาทีถึง3ชั่วโมง ขั้นอยู่กับชนิดของอาหาร โปรตีนจะถูกย่อยในกระเพาะอาหารโดยเอนไซม์เพปซิน กระเพาะอาหารมีการ ดูดซึมสารบางส่วนไต้ เช่น สามารถดูดซึมแอลกอฮอล์ไต้ตีถึงร้อยละ 30-40



3) การย่อยอาหารในลำไส้ ลำไส้เล็กอยู่ต่อจากกระเพาะอาหาร มีลักษณะเป็นท่อที่ขดซ้อนกัน ไปมาในช่องท้อง ยาวประมาณ 5-7 เมตร ลำไส้เล็กจะผลิตเอนไซม์เพื่อย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและ ไขมัน
การย่อยอาหารในลำไส้เล็ก อาหารจะเคลื่อนจากกระเพาะอาหารผ่านกล้ามเนื้อหูรูดเข้าสู่ลำไส้เล็ก การย่อยอาหารในลำไส้เล็กเกิดจากการท่างานของอวัยวะ 3 ชนิด คือ ตับอ่อน ผนังลำไส้เล็กและตับจะหลั่ง สารออกมาท่างานร่วมกัน
ตับอ่อน (Pancreas) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและเอนไซม์ในการย่อย อาหาร เอนไซม์ที่สร้างขึ้นจะอยู่ในรูปที่ยังทำงานไม,ได้ ต้องอาศัยเอนไซม์จากลำไส้เปลี่ยนสภาพที่พร้อม จะทำงานได้ ซึ่งเป็นเอนไซม์สำหรับย่อยโปรตีน นอกจากนั้นยังสร้างเอนไซม์สำหรับย่อยคาร์โบไฮเดรต และไขมันอีกด้วย นอกจากนี้ยังสร้างสารโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตมีฤทธิ์เป็น (base) เพื่อลดความเป็น กรดจากกระเพาะอาหาร
ผนังลำไส้เล็ก จะผลิตเอนไซม์เพื่อย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมัน ลำไส้เล็กแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
- ลำไส้เล็กส่วนด้น หรือเรียกว่า ดูโอดินัม (Duodenum)
- ลำไส้เล็กส่วนกลาง หรือ เรียกว่า เจจู'นม (Jejunum)
- ลำไส้เล็กส่วนปลาย หรือเรียกว่า ไอเลียม (Ileum)
ตับ (Liver) ทำหน้าที่สร้างน้ำดีเก็บไว้ในถุงน้ำดี น้ำดีมีส่วนประกอบสำคัญ คือ น้ำดีช่วยให้ไขมัน แตกตัวและละลายน้ำได้ ทำให้เอนไซม์ลิเพสจากตับอ่อนและลำไส้เล็กย่อยไขมันให้เป็นกรดไขมันและ กลีเซอรอล
การดูดซึม ลำไส้เป็นบริเวณที่มีการดูดซึมได้ตีที่สุด ผนังด้านในลำไส้เล็กเป็นคลื่นและมีส่วนยื่น ออกมาเป็นปมเล็ก ๆ จำนวนมากเรียกว่า วิลลัส (villus) ที่ผิวด้านนอกของเซลล์วิลลัสมีส่วนที่ยื่นออกไป อีก เรียกว่า ไมโครวิลไล (microvilli) เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการดูดซึม ภายในวิลลัสแด,ละอันมีเส้นเลือดและเส้น น้ำเหลือง ซึ่งจะรับอาหารที่ย่อยแล้วที่ซึมผ่านผนังบุลำไส้เล็กเข้ามา
สารอาหารเกือบทุกชนิดรวมทั้งวิตามินหลายชนิดจะถูกดูดซึมที่บริเวณดูโอดินัม สำหรับลำไส้ เล็กส่วนเจจูนัมจะดูดซึมอาหารพวกไขมัน ส่วนของไอเลียมดูดซึมวิตามินบี 12 และเกลือน้ำดี สารอาหาร ส่วนใหญ่และน้ำจะเข้าสู่เส้นเลือดฝอย โมโนแซ็กคาไรด์ กรดอะมิโนและกรดไขมันจะเข้าสู่เส้นเลือดฝอย เข้าสู่เส้นเวน (vein) ผ่านตับก่อนเข้าสู่หัวใจ โมโนแซ็กคาไรด์ที่ถูกดูดซึมถ้ามีมากเกินความต้องการจะถูก สังเคราะห์ให้เป็นไกลโคเจนเก็บไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อ ไกลโคเจนในตับอาจเปลี่ยนกลับไปเป็นกลูโคสไต้ อีก กลูโคสก็จะนำมาสลายใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของเซลล์
ส่วนไขมันจะเข้าไปในกระแสเลือดถูกนำไปใช้ในต้านต่าง ๆ ใช้เป็นแหล่งพลังงานซึ่งเป็น ส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์และโครงสร้างอื่นๆ ของเซลล์ บางส่วนเปลี่ยนไปเป็นกลูโคส ไกลโคเจน และกรดอะมิโนบางชนิด ส่วนที่เหลือจะเก็บสะสมไว้ในเซลล์ที่เก็บไขมัน ซึ่งมีอยู่ทั่วร่างกายใต้ผิวหนัง หน้าท้อง สะโพกและต้นขา อาจสะสมที่อวัยวะอื่น ๆ อีก เช่น ไต หัวใจ เป็นต้น ทำให้ประสิทธิภาพ ของการทำงานของอวัยวะเหล่านี้ลดลง
กรดอะมิโนที่ไต้รับจากอาหาร จะถูกนำไปสร้างเป็นโปรตีนใหม่เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบของ เซลล์เนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตหรือมีการสร้างเซลล์ใหม่ ร่างกายจะนำไขมันและโปรตีนมา ใช้เป็นแหล่งพลังงานไต้ในกรณีที่ร่างกายขาดคาร์โบไฮเดรต โปรตีนที่เกินความต้องการของร่างกายจะถูก ตับเปลี่ยนให้เป็นไขมันสะสมไว้ในเนื้อเยื่อ การเปลี่ยนโปรตีนให้เป็นไขมันจะมีการปล่อยกรดอะมิโนบาง ชนิดที่เป็นอันตรายต่อตับและไต ในกรณีที่ขาดอาหารพวกโปรตีนจึงเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางเคมี เซลล์ต้องใช้เอนไซม์ซึ่งเป็นโปรตีน ทั้งสิ้น
อาหารที่เหลือจากการย่อยและดูดซึมแล้วจะผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ เซลล์ที่บุผนังลำไส้ใหญ่สามารถ ดูดน้ำ แร่,ธาตุและวิตามินจากกากอาหารเข้ากระแสเลือด กากอาหารจะผ่านไปถึงไส้ตรง (rectum) ท้ายสุด ของไส้ตรงคือ ทวารหนักเป็นกล้ามเนื้อหูรูดที่แข็งแรงมาก ทำหน้าที่บีบตัวช่วยในการขับถ่าย จาก การศึกษาพบว่าอาหารที่รับประทานเข้าไปจะไปถึงบริเวณไส้ตรงในชั่วโมงที่ 12 กากอาหารจะอยู่ในลำไส้ ตรงจนกว่าจะเต็มจึงจะเกิดการปวดอุจจารและขับถ่ายออกไปตามปกติ





ภาพลำไส้ใหญ่





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น